Pages

Sunday, August 16, 2020

"ประชาชนปลดแอก" ประกาศจะไม่หยุดเคลื่อนไหวจนกว่า "อำนาจมืด" จะหมดไป - บีบีซีไทย

ataatso.blogspot.com

แกนนำเยาวชน 31 คน

การชุมนุมของกลุ่ม "ประชาชนปลดแอก" ซึ่งเป็นการชุมนุมที่มีผู้เข้าร่วมชุมนุมมากที่สุดในรอบ 6 ปี นับแต่รัฐประหารของ คสช. ยุติลงในเวลา 22.43 น. วันนี้ (16 ส.ค.) โดยนายทัตเทพ เรืองประไพกิตเสรี เลขาธิการคณะประชาชนปลดแอก ระบุว่าหากภายในเดือน ก.ย. นี้รัฐไม่ตอบสนองต่อข้อเรียกร้อง ทางกลุ่มจะยกระดับการชุมนุม

ตลอดระยะเวลา 8 ชั่วโมงของการชุมนุมซึ่งเริ่มตั้งแต่เวลา 15.00 น. สถานการณ์เป็นไปด้วยความสงบ ผู้ชุมนุมกระจายตัวเต็มพื้นที่รอบอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยและบนถนนราชดำเนินกลางตั้งอนุสาวรีย์ฯ ไปจนถึงแยกคอกวัว มีนักกิจกรรมจากกลุ่มต่าง ๆ ผลัดกันขึ้นมาปราศรัยสลับกับการแสดงละครและดนตรี

นายทัตเทพขึ้นปราศรัยเป็นคนสุดท้าย ด้วยการยืนยัน 3 ข้อเรียกร้อง 2 จุดยืน และ 1 ความฝัน โดยระบุว่าหากภายในเดือน ก.ย. นี้ไม่มีการตอบสนองจากรัฐ โดยเฉพาะการทำให้ ส.ว. ทั้ง 250 คนพ้นไป ทางกลุ่มจะยกระดับการชุมนุมต่อไป ก่อนร่วมกันตะโกนว่า "เราจะไม่หยุดจนกว่าอำนาจมืดจะหมดไป"

จากนั้นนายทัตเทพได้ประกาศเชิญ 31 แกนนำผู้จัดการชุมนุมที่คาดว่ามีหมายเรียกและถูกตั้งข้อหาอย่างน้อย 8 ข้อหา จากการจัดการชุมนุมครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 ก.ค. พร้อมเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ตำรวจมาชี้แจงว่าใครถูกหมายจับหรือหมายเรียกบ้าง แต่สุดท้ายไม่มีเจ้าหน้าที่มาชี้แจงหรือแสดงหมายใด ๆ ทำให้เขาประกาศยุติการชุมนุม และไม่ได้ประกาศให้มวลชนร่วมเดินไปยัง สน.สำราญราษฎร์ เพื่อทวงถามความคืบหน้าทางคดีตามที่เขาออกมาเปิดเผยกับสื่อมวลชนก่อนหน้า

แกนนำเยาวชน

อย่างไรก็ตาม หลังประกาศยุติการชุมนุมและประชาชนแยกย้ายกันกลับแล้ว แกนนำเยาวชนบางส่วน รวมทั้งนายอานนท์ได้พากันเดินไปยัง สน. สำราญราษฎร์เพื่อขอความชัดเจนเกี่ยวกับการออกหมายจับและการดำเนินคดีจากตำรวจ แต่เมื่อถึงสถานีตำรวจแล้วไม่มีเจ้าหน้าที่นำหมายจับมาแสดงหรือให้ข้อมูลใด ๆ แกนนำเยาวชนจึงบอกกับตำรวจว่า "เราจะกลับไปเรียนหนังสือแล้ว อย่ามาตามจับเราอีก" ก่อนที่ทั้งหมดจะเดินไปยังบริเวณเสาชิงช้า

นายอานนท์ กล่าวว่า กลุ่มแกนนำได้ส่งทนายความ 2 คน ไปเจรจากับตำรวจเพื่อขอทราบแนวทาง ว่าตำรวจจะดำเนินการอย่างไรต่อไป และจะปักหลักรอว่าจะมีการจับกุมหรือไม่ ซึ่งหากจะมีการจับกุมตำรวจจะต้องนำตัวไปส่งศาลเพื่อขอฝากขังภายในเวลา 48 ชั่วโมง แต่หากไม่มีการจับกุม และต้องการให้ผู้ที่ถูกออกหมายจับไปแสดงตัวเองต่อตำรวจเอง ตำรวจก็สามารถใช้ดุลพินิจให้มีการประกันตัวและปล่อยตัวที่ สน.ได้ โดยขณะนี้มีกลุ่มนักวิชาการและ ส.ส. ที่พร้อมแสดงตัวเป็นนายประกันให้ หรือจะให้นัดไปเจอที่ศาลเพื่อเข้ากระบวนการของศาลต่อไป ดังนั้นในขณะนี้จึงถือว่าผู้ที่มีรายชื่อว่าถูกออกหมายจับยังเป็นผู้บริสุทธิ์อยู่

หลังจากนั้นกลุ่มแกนนำซึ่งรวมตัวที่เสาชิงช้าได้ประกาศสลายตัว โดยนายทัตเทพ กล่าวว่าได้รับคำแนะนำจากทนายความให้แยกย้ายกลับบ้าน และหลังจากนี้จะกลับไปใช้ชีวิตตามปกติโดยไม่มีการมอบตัวแต่อย่างใด

ทัตเทพ เรืองประไพกิตเสรี

กิจกรรมในวันนี้จัดขึ้นในวาระครบรอบเดือน หลังมีการชุมนุมใหญ่ครั้งแรกเมื่อ 18 ก.ค. ซึ่งในวันนั้นผู้จัดการชุมนุมในนาม "เยาวชนปลดแอก" ได้ประกาศข้อเรียกร้อง 3 ข้อต่อรัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ ประกอบด้วย หยุดคุกคามประชาชน, ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ และยุบสภา

ต่อมามีการพัฒนาเครือข่ายขึ้นเป็น "คณะประชาชนปลดแอก" เพื่อขยายแนวร่วมไปสู่นักกิจกรรมการเมืองตามสถานศึกษาต่าง ๆ รวมถึงประชาชนทั่วไป พร้อมเพิ่มหลักการ 2 ข้อ ได้แก่ ต้องไม่มีการทำรัฐประหาร และไม่มีการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ และ "1 ความฝัน" คือการมี "ระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ"

แม้มีข้อวิเคราะห์จากนักการเมืองและนักวิชาการบางส่วนว่าข้อเรียกร้อง 10 ข้อให้ปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ของนักศึกษา ม.ธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 10 ส.ค. เป็นปรากฏการณ์ "ทะลุเพดาน" และจะทำให้แนวร่วมการเคลื่อนไหวลดลง แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีประชาชนเข้าร่วมชุมนุมหลายพันคน โดยเมื่อเวลา 16.30 น. ตำรวจประเมินว่ามีผู้ชุมนุมประมาณ 3,000 คน ขณะผู้จัดการชุมนุมประเมินเมื่อเวลาประมาณ 18.00 น. ว่าผู้ชุมนุม "ทะลุ 1 หมื่นคน"

ผู้ร่วมชุมนุมทยอยเดินทางมาที่ถนนราชดำเนินตั้งแต่ก่อน 15.00 น. ซึ่งเป็นเวลาที่ผู้จัดการชุมนุมนัดหมาย บางส่วนชูป้ายข้อความที่นำมาเอง มีการตั้งเวทีขนาดเล็กบนถนนราชดำเนินกลางตรงข้ามศูนย์เบนซ์ธนบุรี แกนนำเริ่มต้นกิจกรรมด้วยการชวนผู้ชุมนุมร้องเพลง "แจวขับไล่รัฐบาล" เรียกร้องการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และหยุดการคุกคามประชาชน และเรียกร้องให้ ส.ว. 250 คน ที่มีสิทธิโหวตเลือกนายกฯ ออกจากการเมือง

ขณะที่กลุ่มที่เรียกตัวเองว่าแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม นำโดยนายพริษฐ์ ชิวารักษ์ และ น.ส.ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล ได้เดินขบวนเรียกร้องย้ำข้อเรียกร้อง 10 ประการเกี่ยวกับการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ ขณะที่บนเวทียังมีการปราศรัยในหลายประเด็นรวมถึงความเท่าเทียมทางเพศ

ตั้งแต่ช่วงเย็น มีหลายกลุ่มสลับกันขึ้นพูดหลากหลายปัญหาที่เกี่ยวกับการเรียกร้องประชาธิปไตยบนเวทีปราศรัย เช่น กลุ่มนักเรียนเลว กลุ่มประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) กลุ่มรณรงค์รื้อสร้างร่างรัฐธรรมนูญใหม่ คณะผู้หญิงปลดแอกประชาชนกลุ่มหลากหลายทางเพศ

บรรยากาศการชุมนุมในช่วงเย็น

การชุมนุมใหญ่เมื่อ 18 ก.ค. ทำให้แกนนำจัดกิจกรรมอย่างน้อย 3 คน ได้แก่ นายอานนท์ นำภา ทนายความสิทธิมนุษยชน, นายภาณุพงศ์ จาดนอก ประธานกลุ่ม "เยาวชนตะวันออกเพื่อประชาธิปไตย" และนายพริษฐ์ นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ และแกนนำสหภาพนักเรียน นิสิต นักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนท.) ตกเป็นผู้ต้องหาตามหมายจับของศาลอาญาลงวันที่ 6 ส.ค. ในข้อหาสร้างความปั่นป่วนให้เกิดความกระด้างกระเดื่องฯ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 และอื่น ๆ รวม 7-8 ข้อหา

ศาลอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวทั้ง 3 คน โดยกำหนดเงื่อนไขว่าห้ามกระทำการใด ๆ ลักษณะเดียวกันกับการกระทำที่ถูกกล่าวหา มิฉะนั้นจะถือว่าผิดสัญญาประกัน แต่ทั้ง 3 คนก็ได้ปรากฏตัวในสถานที่ชุมนุมในวันนี้แล้ว

ด้านกองบัญชาการนครบาล (บช.น.) ระดมเจ้าหน้าที่ตำรวจ 4 กองร้อย เข้ารักษาความสงบโดยรอบ พร้อมจัดชุดสืบสวนคอยหาข่าวและเก็บข้อมูลในระหว่างการชุมนุม โดยมีการประกาศผ่านเครื่องขยายเสียงให้ระมัดระวังการละเมิดกฎหมายหลายฉบับ

ขณะเดียวกันประชาชนฝ่ายผู้เห็นต่างได้จัดตั้งองค์กรที่ใช้ชื่อว่า "ศูนย์กลางประสานนักศึกษาอาชีวะ ประชาชนปกป้องสถาบัน" หรือ ศอปส. ได้แทรกซึมอยู่ในสถานที่ชุมนุม "เพื่อทำการเก็บหลักฐานทั้งภาพและเสียงแจ้งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินการ" หากพบการจาบจ้วงสถาบันพระมหากษัตริย์ หลังพวกเขารวมกลุ่มกันแสดงพลังปกป้องสถาบันฯ ในจุดเดียวกันนี้เมื่อช่วงสายที่ผ่านมา

ภายหลังจากการชุมนุมใหญ่เมื่อ 18 ก.ค. ได้เกิดการชุมนุมย่อยเพื่อประท้วงต่อต้านรัฐบาล หรือที่รู้จักในชื่อ "แฟลชม็อบ" ภาค 2 ตามมาอย่างน้อย 49 จังหวัดทั่วประเทศตามการรวบรวมข้อมูลของบีบีซีไทย ขณะเดียวกันมีประชาชนอีกกลุ่มได้จัดตั้งองค์กรตอบโต้ที่ใช้ชื่อว่า "ศูนย์กลางประสานนักศึกษาอาชีวะ ประชาชนปกป้องสถาบันฯ" (ศอปส.) ปรากฏความเคลื่อนไหวในการแสดงพลังปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างน้อย 11 จังหวัดทั่วไทย

ความเคลื่อนไหวแนวร่วม "ประชาชนปลดแอก" กับ "ประชาชนปกป้องสถาบัน"

แตะ หรือ  คลิก ที่นี่ เพื่ออ่านข้อมูลเพิ่มเติม

เลือกหัวข้อที่จะไฮไลท์บนแผนที่

แนวร่วมประชาชนปกป้องสถาบัน

มี ยังไม่มี
จังหวัด แนวร่วมประชาชนปกป้องสถาบัน แนวร่วมประชาชนปลดแอก
เชียงใหม่ ไม่มี มี
เชียงราย ไม่มี มี
เพชรบุรี ไม่มี ไม่มี
เพชรบูรณ์ ไม่มี มี
เลย ไม่มี มี
แพร่ ไม่มี มี
แม่ฮ่องสอน ไม่มี ไม่มี
กระบี่ ไม่มี มี
กรุงเทพมหานคร มี มี
ปราจีนบุรี ไม่มี มี
กาฬสินธุ์ ไม่มี มี
กำแพงเพชร ไม่มี ไม่มี
ขอนแก่น มี มี
จันทบุรี มี มี
ฉะเชิงเทรา ไม่มี มี
ชลบุรี ไม่มี มี
สิงห์บุรี ไม่มี ไม่มี
ชัยภูมิ ไม่มี มี
ชุมพร ไม่มี ไม่มี
ตรัง ไม่มี ไม่มี
ตราด ไม่มี ไม่มี
ตาก ไม่มี ไม่มี
นครนายก ไม่มี ไม่มี
นครปฐม ไม่มี มี
นครพนม ไม่มี มี
นครราชสีมา มี มี
นครศรีธรรมราช มี มี
นครสวรรค์ ไม่มี มี
สมุทรปราการ ไม่มี มี
นราธิวาส ไม่มี ไม่มี
น่าน ไม่มี มี
หนองคาย ไม่มี ไม่มี
บุรีรัมย์ ไม่มี ไม่มี
ปทุมธานี มี มี
ประจวบคีรีขันธ์ ไม่มี ไม่มี
บึงกาฬ ไม่มี ไม่มี
ปัตตานี ไม่มี มี
พระนครศรีอยุธยา ไม่มี มี
พะเยา ไม่มี มี
พังงา ไม่มี ไม่มี
พัทลุง ไม่มี มี
พิจิตร ไม่มี ไม่มี
พิษณุโลก มี มี
ภูเก็ต ไม่มี มี
มหาสารคาม ไม่มี มี
มุกดาหาร ไม่มี ไม่มี
ยโสธร ไม่มี มี
ยะลา ไม่มี ไม่มี
ร้อยเอ็ด ไม่มี มี
ระนอง ไม่มี ไม่มี
ระยอง มี มี
ราชบุรี ไม่มี มี
อ่างทอง มี ไม่มี
ลำปาง ไม่มี มี
ลำพูน ไม่มี มี
ศรีสะเกษ ไม่มี มี
สกลนคร ไม่มี มี
สงขลา ไม่มี มี
สตูล มี ไม่มี
สระบุรี ไม่มี มี
สมุทรสงคราม ไม่มี ไม่มี
สมุทรสาคร ไม่มี มี
สระแก้ว มี มี
สระบุรี ไม่มี ไม่มี
สิงห์บุรี ไม่มี ไม่มี
สุโขทัย ไม่มี ไม่มี
สุพรรณบุรี ไม่มี มี
สุราษฎร์ธานี ไม่มี มี
สุรินทร์ ไม่มี ไม่มี
หนองคาย ไม่มี มี
หนองบัวลำภู ไม่มี มี
อ่างทอง ไม่มี ไม่มี
อำนาจเจริญ ไม่มี ไม่มี
อุดรธานี ไม่มี มี
อุตรดิตถ์ ไม่มี ไม่มี
อุทัยธานี ไม่มี ไม่มี
อุบลราชธานี ไม่มี มี

แนวร่วมประชาชนปลดแอก

มี ยังไม่มี

ที่มา : บีบีซีไทยรวบรวมข้อมูลที่ปรากฏในสื่อสังคมออนไลน์ของกลุ่มการเมืองต่าง ๆ ณ วันที่ 14 ส.ค.

"อานนท์" เชื่อสถาบันฯ พร้อมรับฟัง

นายอานนท์ นำภา ทนายความสิทธิมนุษยชน ผู้เปิดปราศรัยเรื่องการขยายพระราชอำนาจสถาบันกษัตริย์ในพื้นที่สาธารณะเมื่อวันที่ 3 ส.ค. ให้สัมภาษณ์บีบีซีในช่วงหัวค่ำว่า การขยับเพดานการพูดประเด็นนี้ในที่ชุมนุมของประชาชน แม้จะมีความเสี่ยงในระยะแรก แต่เขาเชื่อว่าความเสี่ยงเหล่านี้จะค่อย ๆ หมดไปในที่สุด และเชื่อว่าข้อเสนอเหล่านี้จะทำให้ประเทศเดินหน้าต่อได้

นายอานนท์บอกว่าเขาเชื่อว่าสถาบันพระมหากษัตริย์พร้อมจะรับฟัง "และพวกเราทุกคนพร้อมจะพูดอย่างตรงไปตรงมา"

ทนายความสิทธิมนุษยชนวัย 35 ปี อธิบายว่า ต่อจากนี้ข้อเสนอเรื่องสถาบันกษัตริย์ซึ่งเป็น "ความฝัน" ของคณะประชาชนปลดแอก จะอยู่ในการเคลื่อนไหวต่อไป โดยมีข้อเรียกร้อง 3 ข้อ และ 2 จุดยืน เป็นบันไดที่จะทำให้ความฝันนั้นเป็นจริง

"รากแก้วที่ต้องหยั่งลึก คือ สถาบันกษัตริย์ต้องอยู่กับประเทศไทย โดยอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญและเหนือการเมืองอย่างแท้จริง" เขาระบุ

ต่อมาเวลาประมาณ 22.00 น. นายอานนท์ได้ขึ้นปราศรัยบนเวทีโดยไม่ได้พูดลงรายละเอียดเรื่องการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์แบบในเวทีก่อน ๆ แต่ย้ำเพียงว่าการต่อสู้ของพวกเขาเป็นไปเพื่อให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญใหม่เพื่อลดทอนอำนาจของเผด็จการ

อานนท์ นำภา

ส่วนข้อเรียกร้อง 10 ข้อของนักศึกษาที่ถูกประกาศไว้เมื่อ 10 ส.ค. เชื่อว่าได้รับการขานรับจากประชาชนทั่วประเทศแล้ว และทำให้นักศึกษาบางส่วนถูกคุกคาม จึงอยากขอให้ทุกคนช่วยกันปกป้องด้วย

"พวกเราได้รีบการร้องขออย่างเป็นทางการให้ยึด 3 ข้อเท่านั้น... แต่ผมขอประกาศ ณ ที่นี้ว่าพวกเราจะฝันต่อ นอกจากเราจะฝัน เรายังต้องเผยแพร่ความฝันนี้ไปสู่พี่น้องประชาชนทั่วประเทศ ทุกสีเสื้อ ทุกหมู่เหล่า ทุกสาขาอาชีพให้มาร่วมฝันกับพวกเรา เราต้องการเห็นสถาบันพระมหากษัตริย์อยู่เหนือการเมือง และอยู่ใต้รัฐธรรมนูญอย่างแท้จริง" นายอานนท์กล่าว

นายอานนท์เป็นผู้ต้องหาตามหมายจับอาญาเพียงรายเดียวที่ได้ขึ้นเวทีปราศรัยในวันนี้ จากแกนนำ 3 คนที่ถูกออกหมายจับไปแล้วและอยู่ระหว่างการปล่อยตัวชั่วคราว ทั้งนี้เขาได้กล่าวเชิดชูนายพริษฐ์ นักศึกษา ม.ธรรมศาสตร์ ในความกล้าหาญ และ "ใช้ชีวิตของเขาเพื่อจะดันเพดานให้พวกเราทุกคน" พร้อมเรียกร้องให้ผู้เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรมคิดถึงนายคุณากร เพียรชนะ ผู้พิพากษาคนที่สละชีวิตตัวเองเพื่อกระบวนการยุติธรรม

นายกฯ สั่งห้ามเจ้าหน้าที่ใช้ความรุนแรงกับผู้ชุมนุม

ก่อนการชุมนุมของคณะประชาชนปลดแอกจะเริ่มขึ้นไม่นาน น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม ฝากขอบคุณเจ้าหน้าที่ทุกฝ่าย โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ตำรวจ ที่ดูความสงบเรียบร้อยร้อยในการจัดการชุมนุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ

น.ส.ไตรศุลีกล่าวว่านายกฯ ขอให้กำลังใจเจ้าหน้าที่และขอให้ปฏิบัติหน้าที่อย่างตรงไปตรงมา ใช้ความอดทนอดกลั้นต่อการยั่วยุ ห้ามใช้ความรุนแรงกับผู้ชุมนุมเด็ดขาด โดยให้เข้าใจว่าความเห็นต่างเป็นเรื่องปกติของการเมือง จึงต้องเปิดโอกาสให้เยาวชนคนหนุ่มสาวได้แสดงออกอย่างเต็มที่ แต่ต้องไม่เกินเลยกรอบของกฎหมาย และไม่กระทบต่อสิทธิของผู้อื่น

นอกจากนี้ นายกฯ ยังขอให้ทุกฝ่ายหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่จะนำไปสู่ความรุนแรง ซึ่งเป็นสิ่งที่ประชาชนคนไทยไม่อยากให้เกิดขึ้นอีก

line

รวมภาพการชุมนุม 16 ส.ค.

ผู้ชุมนุมถือธงสีรุ้ง
อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
ชูสามนิ้ว
ผู้ชุมนุมถือป้ายประท้วง
ชุมนุมประท้วง

Let's block ads! (Why?)


August 16, 2020 at 09:30AM
https://ift.tt/3h3ryRk

"ประชาชนปลดแอก" ประกาศจะไม่หยุดเคลื่อนไหวจนกว่า "อำนาจมืด" จะหมดไป - บีบีซีไทย
https://ift.tt/2TVOisZ
Home To Blog

No comments:

Post a Comment