Pages

Thursday, August 6, 2020

เลือกตั้งสหรัฐฯ 2020 : สำรวจคะแนนนิยม ทรัมป์-ไบเดน ใครมาแรง - บีบีซีไทย

ataatso.blogspot.com
  • โดย Visual and Data Journalism Team
  • บีบีซี นิวส์

Promo image showing Joe Biden and Donald Trump

ผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งในสหรัฐฯ จะเป็นผู้ตัดสินชี้ชะตาในวันที่ 3 พ.ย.นี้ ว่านายโดนัลด์ ทรัมป์ จะได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ต่อไปอีก 4 ปีหรือไม่

ประธานาธิบดีจากพรรครีพับลิกันคนนี้มีผู้ท้าชิงตำแหน่งคือนายโจ ไบเดน จากพรรรคเดโมแครต อดีตรองประธานาธิบดีในสมัยนายบารัค โอบามา และเป็นผู้คร่ำหวอดในแวดวงการเมืองสหรัฐฯ มาตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 1970

ในขณะที่วันเลือกตั้งใกล้เข้ามาทุกขณะ สำนักโพลล์หลายแห่งพากันสำรวจความเห็นผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งว่าจะเทคะแนนให้ผู้สมัครคนใด

บีบีซีจะติดตามผลสำรวจเหล่านั้นเพื่อดูว่าข้อมูลที่ได้จะสามารถบอกเราได้หรือไม่ว่าใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะในศึกเลือกตั้งครั้งนี้

Section divider

คะแนนนิยมทั่วประเทศเป็นอย่างไร

การทำโพลล์สำรวจความเห็นประชาชนทั่วประเทศของสำนักต่าง ๆ เป็นเครื่องชี้วัดที่ดีว่าผู้สมัครรับเลือกตั้งได้รับคะแนนนิยมจากประชาชนทั่วประเทศมากน้องเพียงใด แต่ก็ไม่จำเป็นเสมอไปว่านี้จะเป็นวิธีการที่ดีในการชี้วัดผลการเลือกตั้งจริง

ยกตัวอย่างในปี 2016 นางฮิลลารี คลินตัน มีคะแนนนำในการสำรวจความเห็นประชาชนของโพลล์สำนักต่าง ๆ และได้คะแนนเสียงมากกว่านายโดนัลด์ ทรัมป์ เกือบ 3 ล้านเสียง แต่เธอกลับพ่ายแพ้การเลือกตั้ง เนื่องจากสหรัฐฯ ใช้ระบบเลือกตั้งที่เรียกว่า คณะผู้เลือกตั้งประธานาธิบดี (electoral college) ดังนั้นการได้คะแนนเสียงเลือกตั้งมากกว่าจึงไม่ได้ทำให้ผู้สมัครคนนั้นชนะการเลือกตั้งเสมอไป

สำหรับการสำรวจความเห็นประชาชนทั่วประเทศในปัจจุบันบ่งชี้ว่า นายไบเดน มีคะแนนนิยมนำหน้าประธานาธิบดีทรัมป์มาแทบจะตลอดทั้งปี โดยมีคะแนนนิยมคงที่อยู่ที่ประมาณ 50% ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา อีกทั้งยังมีคะแนนนิยมนำนายทรัมป์ 10 จุดอยู่เป็นครั้งคราว แต่นายทรัมป์เริ่มมีคะแนนกระเตื้องขึ้นในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา

Chart showing how Donald Trump and Joe Biden are doing in the national polls. As of 4 August, Biden was on 49% while Trump was on 45%

ในทางกลับกัน ในการเลือกตั้งเมื่อปี 2016 ผลโพลล์ที่ได้มีความชัดเจนน้อยกว่านี้ โดยที่นายทรัมป์และนางคลินตันมีคะแนนทิ้งห่างกันเพียงไม่กี่เปอร์เซ็นต์

Section divider

สนามเลือกตั้งในรัฐใดจะเป็นตัวตัดสินการเลือกตั้งครั้งนี้

นางคลินตันได้ค้นพบในศึกเลือกตั้งเมื่อปี 2016 ว่าจำนวนคะแนนเสียงที่ได้รับนั้นยังไม่สำคัญเท่ากับว่าชนะการเลือกตั้งที่รัฐใด

รัฐส่วนมากในสหรัฐฯ ใช้วิธีการลงคะแนนเหมือนกัน นี่จึงหมายความว่าในความเป็นจริงจะมีเพียงไม่กี่รัฐที่ผู้ลงสมัครทั้งสองมีคะแนนสูสีกัน และต่างมีโอกาสที่จะชนะพอ ๆ กัน ซึ่งท้องที่การเลือกตั้งเช่นนี้เรียกว่า battleground state หรือ รัฐที่เป็นสมรภูมิสูสี

Map showing where the battleground states are in the 2020 election. Texas has the largest number of electoral college votes (38) while New Hampshire has the fewest (4)

ในระบบคณะผู้เลือกตั้ง (electoral college) ซึ่งสหรัฐฯ ใช้เลือกประธานาธิบดีนั้น แต่ละรัฐจะมีจำนวนเสียงคณะผู้เลือกตั้งโดยขึ้นอยู่กับจำนวนประชากรในรัฐ

โดยทั้งประเทศมีคณะผู้เลือกตั้งทั้งสิ้น 538 เสียงให้ช่วงชิง ดังนั้นผู้สมัครรับเลือกตั้งจำเป็นต้องได้ 270 เสียงจึงจะชนะเลือกตั้งได้เป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ

แผนที่ด้านบนเผยให้เห็นว่าบางสนามเลือกตั้งในรัฐที่เป็นสมรภูมิสูสี มีคณะผู้เลือกตั้งมากกว่า ดังนั้นผู้สมัครรับเลือกตั้งจึงมักใช้เวลาหาเสียงอยู่ในรัฐเหล่านี้มากกว่า

Section divider

ใครมีคะแนนนิยมนำในรัฐที่เป็นสมภูมิสูสี

ขณะนี้ผลสำรวจความเห็นของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งในรัฐเป็นสมรภูมิสูสี บ่งชี้ว่า นายไบเดน มีคะแนนนิยมนำอยู่

อย่างไรก็ตาม หนทางก่อนถึงวันเลือกตั้งยังอีกยาวไกล และสถานการณ์ต่าง ๆ อาจพลิกผันได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะเมื่อเกี่ยวข้องกับประธานาธิบดีทรัมป์

Table showing the latest polling averages for Donald Trump and Joe Biden in key states. Biden leads in most of them at the moment
Presentational white space

ผลโพลล์สำนักต่าง ๆ บ่งชี้ว่า นายไบเดน มีคำแนนนำในรัฐมิชิแกน เพนซิลเวเนีย และวิสคอนซิน ซึ่งเป็นรัฐอุตสาหกรรมที่นายทรัมป์เคยชนะมาด้วยคะแนนฉิวเฉียดไม่ถึง 1% ในการเลือกตั้งเมื่อปี 2016

แต่ท้องที่ที่ทีมหาเสียงของนายทรัมป์จะต้องกังวลมากที่สุด และเป็นรัฐที่ผู้นำสหรัฐฯ เคยกุมชัยชนะท่วมท้นในปี 2016 คือรัฐสมรภูมิสูสี ได้แก่ รัฐไอโอวา โอไฮโอ และเท็กซัส ซึ่งผลสำรวจในปัจจุบันพบว่านายทรัมป์มีคะแนนนิยมสูสีกับนายไบเดน

ผลโพลล์เหล่านี้อาจช่วยอธิบายถึงการที่นายทรัมป์ตัดสินใจเปลี่ยนผู้จัดการทีมหาเสียงเมื่อเดือน ก.ค. และการที่เขามักเรียกผลสำรวจนี้ว่า "โพลล์ปลอม"

Section divider

การระบาดของโควิด-19 กระทบต่อคะแนนนิยมนายทรัมป์หรือไม่

การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่เป็นข่าวใหญ่ในสหรัฐฯ มาตั้งแต่ต้นปี และผลตอบรับต่อการรับมือวิกฤตที่เกิดขึ้นของประธานาธิบดีทรัมป์ก็ต่างกันไปในหมู่ผู้สนับสนุนพรรคต่าง ๆ

คะแนนสนับสนุนของนายทรัมป์พุ่งสูงขึ้นช่วงกลางเดือน มี.ค.หลังจากเขาประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทั่วประเทศ และจัดสรรงบประมาณ 5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ให้แก่รัฐต่าง ๆ เพื่อใช้หยุดยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ผลสำรวจความเห็นของ Ipsos บริษัททำโพลล์ชั้นนำ พบว่าขณะนั้น 55% ของคนอเมริกันเห็นด้วยกับการดำเนินการของประธานาธิบดีทรัมป์

แต่หลังจากนั้น คะแนนสนับสนุนของผู้นำสหรัฐฯ เริ่มจางหายไปจากประชาชนที่สนับสนุนพรรคเดโมแครต ในขณะที่ชาวอเมริกันผู้สนับสนุนพรรครีพับลิกัน ยังคงเดินหน้าให้การสนับสนุนนายทรัมป์ต่อไป

Chart showing that the majority of Americans do not approve of Donald Trump's handling of the coronavirus pandemic, according to polls by Ipsos
Presentational white space

อย่างไรก็ตาม ข้อมูลล่าสุดบ่งชี้ว่า ฝ่ายผู้สนับสนุนของนายทรัมป์เองต่างเริ่มจะตั้งคำถามถึงการรับมือกับโควิด-19 ของเขา โดยรัฐในแถบภาคใต้และภาคตะวันตกซึ่งกำลังเผชิญการระบาดของโรคระลอกใหม่ พบว่า คะแนนนิยมต่อนายทรัมป์ของผู้สนับสนุนพรรครีพับลิกันลดลงไปอยู่ที่ 78% ในช่วงต้นเดือน ก.ค.

นี่อาจช่วยอธิบายว่าเหตุใดในระยะหลัง ๆ มานี้ผู้นำสหรัฐฯ จึงพยายามเปลี่ยนข้อความที่เขาใช้สื่อสารกับประชาชนเกี่ยวกับโควิด-19 ซึ่งก่อนหน้านี้นายทรัมป์มักพูดว่า เชื้อไวรัสนี้จะ "หายไปเอง" มาเป็นการพูดเตือนว่า สถานการณ์โรคระบาดจะ "เลวร้ายลงก่อนที่จะเริ่มดีขึ้น"

นอกจากนี้ ผู้นำสหรัฐฯ ยังเริ่มสวมหน้ากากอนามัยเป็นครั้งแรกเมื่อไม่นานมานี้ พร้อมเรียกร้องให้คนอเมริกันสวมหน้ากากด้วย

แบบจำลองที่สร้างโดยคณะผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยวอชิงตันคาดการณ์ว่า ยอดผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 ในสหรัฐฯ จะทะลุ 230,000 คน ภายในวันที่ 1 พ.ย.นี้ หรือเพียง 2 วันก่อนการเลือกตั้ง

เราเชื่อผลโพลล์ได้เพียงใด

เป็นเรื่องง่ายที่เราจะไม่เชื่อผลโพลล์ โดยกล่าวว่ามันเคยทำนายผลการเลือกตั้งผิดพลาดมาแล้วเมื่อปี 2016 ซึ่งประธานาธิบดีทรัมป์ก็มักพูดเช่นนั้นอยู่เสมอ แต่มันก็ไม่ถูกต้องเสียทั้งหมด

การทำโพลล์สำรวจความเห็นประชาชนทั่วประเทศส่วนใหญ่ในตอนนั้นให้นางคลินตันมีคะแนนนำนายทรัมป์อยู่เพียงไม่กี่จุด แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าผลโพลล์เหล่านี้ผิดพลาด เพราะเธอได้คะแนนเสียงมากกว่านายทรัมป์ 3 ล้านคะแนน

สำนักจัดทำโพลล์หลายแห่งมีข้อพกพร่องในการทำโพลล์เมื่อปี 2016 กรณีที่เห็นเด่นชัดคือการที่ไม่ได้สำรวจความเห็นของกลุ่มผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งที่มีการศึกษาต่ำกว่าระดับมหาวิทยาลัยในสัดส่วนที่มากเพียงพอ จึงทำให้ไม่มีผู้ใดเห็นถึงความได้เปรียบของนายทรัมป์ในรัฐสมรภูมิสูสีที่สำคัญจนกระทั่งจวนเจียนจะถึงวันเลือกตั้งแล้ว ซึ่งปัจจุบันบริษัทผู้จัดทำโพลล์ส่วนใหญ่ได้แก้ไขข้อบกพร่องนี้แล้ว

แต่การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในปีนี้มีความไม่แน่นอนมากกว่าปกติ เนื่องจากปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และผลกระทบที่มันมีต่อเศรษฐกิจและผู้คนที่จะใช้สิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งในเดือน พ.ย.นี้ ดังนั้นควรอ่านผลโพลล์แต่ละสำนักโดยใช้วิจารณญาณ โดยเฉพาะในช่วงที่ยังห่างไกลจากวันเลือกตั้งจริงในขณะนี้

Section divider

Let's block ads! (Why?)


August 06, 2020 at 08:36PM
https://ift.tt/3khtyYi

เลือกตั้งสหรัฐฯ 2020 : สำรวจคะแนนนิยม ทรัมป์-ไบเดน ใครมาแรง - บีบีซีไทย
https://ift.tt/2TVOisZ
Home To Blog

No comments:

Post a Comment