Pages

Sunday, September 27, 2020

ปัจจัยการเมืองเปลี่ยน : ระบบต่อท่ออำนาจรอวันล่มสลาย - ไทยรัฐ

ataatso.blogspot.com

ยืนอยู่บนอำนาจด้วยตัวเอง ไม่อาศัยเสียงของสมาชิกรัฐสภา

หลังเลือกตั้งเข้าสู่ยุคกึ่งประชาธิปไตย พล.อ.ประยุทธ์หรือใครก็ตามขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี

ล้วนอาศัยเสียงสมาชิกรัฐสภาค้ำบัลลังก์รัฐบาล

จังหวะระยะเปลี่ยนผ่านทางการเมือง สังคมยังพอยอมรับได้ เมื่อเวลาทอดนานออกไป บางประเด็นที่รัฐธรรมนูญกำหนดเอาไว้ เริ่มส่งผลต่อการประนอมอำนาจระหว่างพรรคการเมือง
ถึงเวลาแก้กติกาเพื่อประนอมอำนาจ

ขณะที่บริบททางเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงใหญ่ในช่วงโควิด-19 แพร่ระบาดทั่วโลก กระทบต่อบ้านเมืองและความเป็นอยู่ของประชาชน กระทบต่อความมั่นคงของประเทศ

ฉะนั้น ภาคการเมืองซึ่งเป็นตัวกำหนดก่อให้เกิดความมั่นคงและความเชื่อใจต่อประชาชน เพื่อแก้ไขปัญหาม็อบประชาชนปลดแอก การเคลื่อนไหวชุมนุมเรียกร้อง ซึ่งเป็นชนวนซ้ำเติมเศรษฐกิจ

ผู้มีอำนาจควรปรับกระบวนยุทธ์แก้ไขกติกา

เพื่อให้ภาคประชาชน และภาคการเมืองพอใจสร้างเสถียรภาพของรัฐบาลให้เข้มแข็ง

การประนอมอำนาจควรเริ่มต้นจากจุดไหน เพื่อสร้างความพึงพอใจแก่ภาคประชาชนและภาคการเมือง นายวันชัย บอกว่า...

...หัวใจใหญ่คือยกเลิกอำนาจ ส.ว.โหวตนายกฯโดยเร่งด่วน

เพราะใช้ได้ในระยะเฉพาะกิจและมันอยู่ในบทเฉพาะกาล เพื่อสานต่อการปฏิรูปประเทศ แต่ตอนนี้มันเป็นกลไกที่ทุกฝ่ายไม่ยอมรับ แม้อีกฝ่ายมองต่างมุมว่าเป็นการสร้างความมั่นคงให้รัฐบาล

แต่ขณะนี้ขอย้ำว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและการตื่นตัวทางการเมืองอย่างรุนแรงของคนหนุ่มสาว ออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตย ตอนแรกมองกันว่าค่อยๆเปลี่ยนแปลงก็ได้ แต่ตอนนี้ไม่ได้แล้ว

แค่ปมนี้ปล่อยเอาไว้ก็ไม่มีประโยชน์ ก่อให้เกิดความขัดแย้ง

หากแข็งขืนย่อมเป็นชนวนแตกหักในประเทศ

ฉะนั้น การตั้ง กมธ.ดูเหมือนดึงเวลา ตามข้อบังคับการประชุมร่วมรัฐสภาเปิดประตูให้ทำได้ หลังจากที่ประชุมถกเถียงอย่างกว้างขวางยังไม่ได้ข้อยุติ ปรากฏว่ามีเฉพาะวุฒิสภาและพรรคร่วมรัฐบาล

ฝ่ายค้านไม่ร่วมสังฆกรรม เหมือนตบมือข้างเดียว

ย่อมไม่ได้ประโยชน์ รั้งรอจะเกิดปัญหาให้แก้เฉพาะหน้า

อาจกลายเป็นระเบิดเวลาตามมา

ใครเป็นคนวางเกมนี้ก็ตาม โดยส่วนตัวไม่เห็นด้วย หากไม่ต้องการแก้ต้องกล้าฟันธงไปเลย

กมธ.ชุดที่มีนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค เป็นประธาน ศึกษารัฐธรรมนูญสะเด็ดน้ำไปแล้วครอบคลุมทุกประเด็น ทำไมตั้ง กมธ.ร่วมฯขึ้นมาศึกษาอีก นายวันชัย บอกว่า ความจริงไม่ต้องไปศึกษาเพิ่มเติมแล้ว

ทุกฝ่ายควรหารือกันว่าประเด็นไหนทำก่อน ทำหลัง อำนาจ ส.ว.ควรมีแค่ไหน อย่างไร คุยให้จบก่อนหน้านี้

ส.ว.กลุ่มหนึ่งถูกมองว่าอำนาจพิเศษสั่งได้ ส.ว.อีกกลุ่มเริ่มขยับให้แก้กติกาลดปัญหาความขัดแย้ง สุดท้ายจะรวมเสียง ส.ว.ให้ถึง 84 เสียงได้อย่างไร เพื่อถอดสลักแก้กติกาแห่งความขัดแย้ง นายวันชัย
บอกว่า ผมเป็นอิสระ ไม่อยู่ใต้บังคับหรืออยู่ภายใต้สั่งการของใคร

ท่ามกลางความมืดมิด ขอเป็นแสงเทียนน้อยทำให้รู้ว่าโลกใบใหม่ มันมืดจริง ส.ว.กลุ่มนี้เงียบ ไม่เคลื่อนไหวใดๆ ทำหน้าที่ด้วยเหตุด้วยผลอย่างเต็มกำลัง ไม่มีการชี้นำ

แตกต่างกับกลุ่มคัดค้านแก้กติกา ทำงานเปิดเผย ลุยเต็มที่

เป็นสิทธิ์ที่ทำได้ เคารพในความคิดของเขา แต่ไม่กล้ายืนยันว่าทำโดยถูกสั่งการหรือทำตามความคิดของตัวเอง การกระทำเป็นเครื่องพิสูจน์

ผลของมันชี้ให้เห็นถึงการกระทำ สังคมจะติดตามพิจารณาเอาเอง

สิ่งที่นำเสนออาจผิดในสายตาของเพื่อน ส.ว.หลายคน ในทางการเมืองไม่ถือว่าใครผิด ใครถูก

วันเวลาและสถานการณ์ที่เกิดขึ้นย่อมเป็นเครื่องพิสูจน์ว่าความคิด ของฝ่ายใดถูกหรือผิด

ถ้ามีหัวใจเป็นประชาธิปไตยไม่ควรห้ำหั่นมองเป็นศัตรู

โดยเฉพาะในจังหวะบริบทของสังคม การเมือง มันเปลี่ยน ส.ว.มีที่มาจากอำนาจพิเศษ ไม่ควรมีบทบาทเหมือนในลักษณะมาจากอำนาจพิเศษ

ถ้าการกระทำไม่เปลี่ยนให้สอดรับกับบริบทสังคม การเมือง

กลัวว่า ส.ว.มีโอกาสตกเป็นเป้าในสายตาของประชาชน

ขณะนี้ ส.ว.ก็ถูกมองว่าเป็นอุปสรรคขัดขวางการแก้กติกาไปแล้ว

มั่นใจแค่ไหน หลัง กมธ.ร่วมฯศึกษาตามกรอบเวลาจบจะถอดสลัก แก้รัฐธรรมนูญได้ นายวันชัย บอกว่า เท่าที่ดูบรรยากาศและสถานการณ์การเมือง

ฝ่ายค้านอ่อนแอ ไม่เป็นเอกภาพ

มวลชนชกผิดเป้า ขัดแย้งในประเด็นการเคลื่อนไหว

โอกาสถูกโหวตคว่ำในที่ประชุมร่วมรัฐสภาก็มี

นอกจากรัฐบาลพลิกเกม เช่น ส่งร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่ทุกฝ่ายเห็นด้วยเข้ามา.

ทีมข่าวการเมือง

Let's block ads! (Why?)


September 27, 2020 at 03:01PM
https://ift.tt/2S3FmAr

ปัจจัยการเมืองเปลี่ยน : ระบบต่อท่ออำนาจรอวันล่มสลาย - ไทยรัฐ
https://ift.tt/2TVOisZ
Home To Blog

No comments:

Post a Comment