Pages

Thursday, June 11, 2020

“8 นิสัย” ที่ต้องทำต่อไป หลังเลิกกักตัวโควิด-19 - Sanook

ataatso.blogspot.com

ขณะที่หลาย ๆ เมืองทั่วโลกกำลังเริ่มกลับมามีชีวิตชีวา ผู้คนเริ่มออกจากบ้านมาใช้ชีวิตข้างนอกมากขึ้น หลังการล็อกดาวน์เพื่อยับยั้งการระบาดของโรคโควิด-19 แม้หลายคนจะเริ่มรู้สึกว่าทุกอย่างกำลังกลับคืนสู่ “ความเป็นปกติ” แต่การกักตัวอยู่บ้านเป็นเวลานาน ก็ทำให้เรา “เปลี่ยนแปลง” นิสัยหลายอย่างไม่มากก็น้อย และบางนิสัยก็ส่งผลดีกับการใช้ชีวิตของเราด้วยเช่นกัน และนี่คือ 8 นิสัยใหม่ที่เกิดขึ้นและคุ้มค่าที่จะทำต่อไป แม้มาตรการล็อกดาวน์ป้องกันโรคโควิด-19 จะเริ่มผ่อนคลายลงแล้วก็ตาม 

ลดการใช้จ่ายเงิน

เมื่อกักตัวอยู่ที่บ้าน การใช้เงินไปกับการจับจ่ายซื้อของ เช่น เสื้อผ้า นาฬิกา หรืออุปกรณ์เครื่องมือต่าง ๆ ฯลฯ ก็ลดน้อยลง การต้องติดอยู่ในบ้านและไม่ใช้จ่ายไปกับสิ่งที่เกินความต้องการ ส่งผลให้หลาย ๆ คนเริ่มตระหนักถึงพฤติกรรมการบริโภคของตัวเอง ขณะที่หลายคนใช้เวลาในช่วงกักตัว ทำอาหารรับประทานด้วยตัวเอง ซึ่งก็ส่งผลให้พวกเขาเหล่านั้นประหยัดเงินจากการออกไปกินอาหารนอกบ้าน และตระหนักถึงรสชาติของอาหารทำเอง

กดดันตัวเองน้อยลง

การติดอยู่ในบ้านทำให้หลายคนตระหนักถึงชีวิตที่เร่งรีบในแต่ละวันของตัวเอง ขณะเดียวกันก็กดดันตัวเองเพื่อสร้างสถานะทางสังคม แม้ “งาน” หรือ “กิจกรรม” ที่กำลังทำอยู่นั้นจะทำให้ไม่มีความสุขก็ตาม การล็อกดาวน์ช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 จึงทำให้หนุ่มสาวมากมายได้หันกลับมามองชีวิตที่แสนกดดันจากการทำงาน และได้เรียนรู้ว่า “การทำงาน” ไม่ใช่ทุกอย่างของชีวิต อย่างไรก็ตาม ความสามารถที่จะไม่ “กดดันตัวเอง” ก็มาพร้อมกับสิทธิพิเศษในสังคม เพราะสำหรับคนอีกหลายคนที่ต้องตกงานเพราะวิกฤติโรคโควิด-19 ก็คงจะหวังว่าพวกเขาจะได้รับโอกาสให้เข้าสู่บรรยากาศของการทำงานอีกครั้ง 

ให้ความสำคัญกับครอบครัวและเพื่อนฝูง

 ในช่วงวิกฤติโรคระบาดที่คร่าชีวิตผู้คนหลายแสนคนทั่วโลก การมีครอบครัวและเพื่อนฝูงคอยเคียงข้างและให้กำลังใจซึ่งกันและกันก็เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่ทำให้หลายคนผ่านพ้นช่วงเวลาที่ยากลำบากและน่ากลัวมาได้ แม้จะไม่สามารถไปมาหาสู่กันได้ แต่การพูดคุยทางโทรศัพท์หรือทางแอปพลิเคชันต่าง ๆ ก็ช่วยหล่อเลี้ยงหัวใจของหลายคนในยามที่ต้องติดอยู่ในภายในบ้านได้

ช่วยเหลือสังคมในโลกที่เชื่อมโยงกัน  

วิกฤติโรคโควิด-19 แสดงให้เห็นความเชื่อมโยงของคนในสังคมผ่านการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน แสดงให้เห็นน้ำจิตน้ำใจของคนร่วมสังคมที่ไม่ทิ้งกันแม้ในช่วงเวลาที่ยากลำบาก หลายคนเลือกบริจาคสิ่งของหรือเงินเพื่อช่วยเหลือ ขณะที่หลายคนใช้เวลาช่วงล็อกดาวน์เข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมือง เพื่อเรียกร้องหรือแสดงจุดยืนของตัวเองมากขึ้น เช่น การประท้วงเรื่องการใช้ความรุนแรงของตำรวจต่อคนผิวดำในสหรัฐอเมริกา ที่แพร่กระจายไปยังหลายประเทศทั่วโลก เป็นต้น 

ออกกำลังกาย

การออกกำลังกายกลายเป็นกิจวัตรประจำวันของหลายคนในช่วงล็อกดาวน์ แม้ก่อนหน้านี้ พวกเขาจะไม่เข้าฟิตเนสหรือออกกำลังกายเลยก็ตาม การวิ่ง โยคะ และกิจกรรมขยับแข้งขาอีกมากมาย กลายเป็นสิ่งที่ช่วยให้หลายคนสามารถรับมือกับการต้องติดอยู่ในบ้านในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ซึ่งไม่เพียงจะช่วยให้ร่างกายแข็งแรงเท่านั้น แต่การออกกำลังกายยังมีส่วนช่วยเรื่องสุขภาพจิตด้วย

อบขนม ทำอาหาร และปลูกต้นไม้ 

ช่วงการล็อกดาวน์โควิด-19 ช่วยให้หลายคนค้นพบงานอดิเรกที่พวกเขาชื่นชอบ ไม่ว่าจะเป็นการอบขนม ทำอาหาร หรือแม้แต่การปลูกต้นไม้ และยังสามารถต่อยอดเพื่อสร้างรายได้ให้กับตัวเองในยามวิกฤติเช่นนี้ด้วย ไม่ใช่เรื่องที่น่าแปลกใจนักที่ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา จะทำให้คนหันกลับมาสู่งานอดิเรก เนื่องจากในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ชาวอเมริกันก็หันมาปลูกผักผลไม้ ซึ่งช่วยเรื่องสุขภาพจิตของคนในช่วงเวลานั้นเป็นอย่างมาก 

ใช้เวลาในธรรมชาติมากกว่าเดิม  

การออกไปอยู่ในพื้นที่กลางแจ้งกลายเป็นวิธีสำคัญ ที่จะช่วยรักษาความปกติทางจิตใจให้กับตัวเองในช่วงการล็อกดาวน์ โดยเฉพาะพ่อแม่ที่มีลูกเล็ก และยังช่วยให้ลูก ๆ ได้มีโอกาสได้วิ่งเล่นปล่อยพลัง ซึ่งพื้นที่ธรรมชาติที่เปิดโล่งก็เป็นสถานที่ที่หลายคนเลือกไป เพราะนอกจากจะปลอดภัยกว่าพื้นที่ในร่มแล้ว การได้เห็นพื้นที่สีเขียวก็ช่วยอาการหม่นหมองจากการอยู่ในบ้านเป็นเวลานานได้ 

ทำงานจากที่บ้าน 

การล็อกดาวน์จากการระบาดของโรคโควิด-19 นำไปสู่วิธีการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไปทั่วโลก “การทำงานจากที่บ้าน” ทำให้พนักงานทำงานมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกัน พวกเขาก็ยังรู้สึกสะดวกสบายขณะทำงานเมื่อต้องเปลี่ยนบ้านมาเป็นสำนักงานของตัวเอง แม้ว่าการทำงานจากที่บ้านไม่สามารถใช้ได้กับทุกอาชีพก็ตาม

Let's block ads! (Why?)


June 11, 2020 at 02:33AM
https://ift.tt/3cSNVpQ

“8 นิสัย” ที่ต้องทำต่อไป หลังเลิกกักตัวโควิด-19 - Sanook
https://ift.tt/2TVOisZ
Home To Blog

No comments:

Post a Comment